17 พฤศจิกายน 2552

+ การจดทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรส


การจดทะเบียนสมรส (เสียงบรรยายประกอบ)

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส


- จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง


- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา

- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้

- หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

* สมรสกับคู่สมรสเดิม

* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้

* ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส


- บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

- สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ

- หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)

- สำเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส


- การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ คู่สมรส

- คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

- คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม

- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล

จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

ค่าธรรมเนียม


การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ - ส่ง นายทะเบียน การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

การจดทะเบียนสมรส

1.รับเรื่อง


- ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียน โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้ * กฏกระทรวงฯ พ.ศ. 2478 ข้อ 3 *ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 6,8

2. ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง


2.1 นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการอกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน

2.3 หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย

2.4 ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (กรณีผุ้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมมาด้วยตนเอง

2.5 ผู้ร้องขอเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากหย่าแล้วต้องตรวจ สอบหลักฐานการหย่า หรือคู่สมรสตาย ให้ตรวจสอบหลักฐานการตาย
2.6 คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน (กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล)

2.7 พยานอย่างน้อย 2 คน

* ป.พ.พ. ม.1436,1448,1453,1454,1455,1456

* พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ม.4, 11,12

* ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 8,13 (1)

3. นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย ดังนี้


3.1 ชายหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

3.2 ชายหญิงไม่เป็นคนวิกลจริตฯ

3.3 ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิต

3.4 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

3.5 ชายหรือหญิงจะสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสกันไม่ได้

3.6 หญิงหม้าย (ที่เข้าเงื่อนไข)

3.7 ชายหญิงยินยอมป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผย

* ป.พ.พ. ม.1448 - 1458 ดังนี้

* ระเบียน มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 13 (2)

4.ผู้มีอำนาจในการจะทะเบียน


- นายทะเบียน (นายอำเภอ/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ/อำนวยการเขต/หรือผู้รักษาราชการแทน)

* พ.ร.บ.จดทะเบียนครองครัว พ.ศ.2478 ม.3

* กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2499) ข้อ 2

* นส.ด่วนมากที่ มท.ช 0402/ว 1411 ลว.3 ธ.ค.30

5.ลงรายการในทะเบียนด้วยวิธีการ ดังนี้


5.1 พิมพ์ข้อความ ลงในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) หากผู้ร้องทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้บันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่นให้นายทเบียนพิมพ์รายละเอียดนั้นไว้ในช่องบันทึก

5.2 เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันที่ก่อนการสั่งพิมพ์ กรณีไม่มีการแก้ไขและ ได้สั่งพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีกจะเป็นการป้องกันการแก้ไขหรือลบข้อมูลโดยมิชอบ

5.3 เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้สั่งพิมพ์ทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)เพื่อให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) และพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส (คร.2) และนายทะเบียนลงลายมือชื่อในใบสำคัญการสมรส (คร.3)

5.4 มอบใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้แก่คู่สมรสฝ่ายละหนึ่งฉบับ
* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13 (3)

6.เมื่อได้รับจดทะเบียนหรือบันทึกไว้แล้ว ให้นายทะเบียนเก็บรักษา


ทะเบียนไว้เป็นหลักฐานตลอดไป โดยการจัดเก็บเข้าแฟ้มเรียงลำดับตามเลขที่ทะเบียนโดยมิให้ทำลาย เพราะ เป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมาย ซึ่งใช้รับรองสิทธิต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง

* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 43,44

7. การขอแก้ไขเพิ่มเติมในทะเบียน (คร.2) ให้นายทะเบียนบันทึกใน


ช่องบันทึกทะเบียน โดยมีรายละเอียดให้ทราบว่าใครเป็นผู้ร้องขอให้บันทึกเรื่องใด และให้ผู้ร้องและนายทะเบียน ลงชื่อไว้โดยไม่ต้องแก้ไขรายการในทะเบียนเดิมให้ถือปฏิบัติตามระบบเดิม คือการบันทึกข้อความต่าง ๆ โดยการเขียน ด้วยมือในคำร้อง (คร.1) และทะเบียนสมรส (คร.2) แต่ต้องนำมาจัดเก็บข้อมูลการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวไว้ด้วยระบบ คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนี่งในภายหลัง

* กฎกระทรวง พ.ศ.2478 ข้อ 9 ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 38

8. การใช้นามสกุลของคู่สมรส


ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคู่สมรสให้ทางทะเบียนท้องที่บันทึกข้อตกลงของคู่สมรสว่าจะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดโดยให้บันทึกต่อท้าย
ในแบบ คร.2


ความสำคัญของทะเบียนสมรส (เสียงบรรยายประกอบ)


การจดทะเบียนสมรสที่บ้าน (เสียงบรรยายประกอบ)


จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะและผิดกฏหมาย (เสียงบรรยายประกอบ)

คนต่างชาติจะจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายไทย (เสียงบรรยายประกอบ)


การจดทะเบียนสมรสใหม่ของหญิงหม้าย (เสียงบรรยายประกอบ)


การตรวจสอบทะเบียนสมรส (เสียงบรรยายประกอบ)

15 พฤษภาคม 2552

+ หน้าแรก งานนิติการ


ยินดีต้อนรับ สู่ Blog งานนิติการ

เทศบาลตำบลเมืองพาน
.
โทร 053-721471 ถึง 2 ต่อ 109

ความเป็นมา

          สือเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันมีมากและแพร่หลายขึ้น จึงเกิดแนวความคิดในการจัดทำสื่อที่จะสามารถประชาสัมพันธ์งานนิติการ ที่ประชาชนหลาย ๆ คน ยังไม่รู้จักและไม่ได้เข้าถึง แต่ในความเป็นจริงแล้ว งานนิติการ เป็นงานที่มีความสำคัญไม่น้อย ที่ประชาชนควรได้เข้ามาทำความรู้จัก และได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร งาน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้เผยแพร่ 

          เว็บบล็อกนี้ แท้จริงแล้วเป็นเว็บบล๊อกส่วนตัวผมที่ได้เปิดไว้นานพอสมควรแล้ว แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไร มาถึงตอนนี้จึงได้ลงมือจัดทำให้เว็บบล๊อกนี้มีประโยชน์ต่อประชาชนและผู้สนใจ และยังถือว่าเป็นบันทึกช่วยจำของผู้ปฏิบัติงานไปอีกทางหนึ่งด้วย

          เนื้อหาในเว็บบล็อกจะเป็นงานในหน้าที่โดยส่วนมากประกอบกับบทความต่าง ๆ ที่เขียนเอง และจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ทั้งยังมี เว็บบอร์ดไว้ให้ผู้มาเยี่ยมชมเว็บบล็อกนี้อีกด้วย

          กระผมหวังว่าเว็บบล๊อกงานนิติการ เทศบาลตำบลเมืองพานนี้จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย และยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นที่ส่งเข้ามา ขอบคุณครับ...


                                                                             นิติธรรม  อภิวงค์
                                                                                   นิติกร




.

+ โครงการอบรมกฎหมายเพื่อประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม





โครงการอบรมกฎหมายเพื่อประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม พ.ศ.2552
หลักการและเหตุผล
........ด้วยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการประชาธิปไตยและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เพื่อให้โครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้ ขอความร่วมมือผ่านมาทางจังหวัดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดอบรมประชาชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการประชาธิปไตยและแนวทางการมีส่วนร่วมอย่างน้อยปีละครั้งเป็นประจำทุกปี
ดังนั้นงานนิติการสำนักปลัดเทศบาลตำบลเมืองพาน จึงได้จัดให้มีโครงการอบรมศึกษากฎหมายเพื่อประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม พ.ศ.2552 เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตยและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และเป็นการสนับสนุนการให้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์1. เพื่อดำเนินการตามกลยุทธ์ด้านการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพาน
2. เพื่อพัฒนาให้ประชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพานมีความรู้ในกฎหมายที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย
3. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
4.เพื่อส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับเทศบาลตำบลเมืองพาน

เป้าหมาย
อบรมศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพาน จำนวน 100 คน (ชุมชนละ 10 คนรวม 10 ชุมชน)

ระยะเวลาดำเนินการวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552
วิธีดำเนินการ1. เสนอโครงการ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ
3. ประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมโครงการและคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
4. จัดเตรียมเอกสาร อุปกรณ์และสถานที่
5. ดำเนินการฝึกอบรมตามโครงการ
6. ประเมินผลและสรุปการดำเนินโครงการ

สถานที่ดำเนินการสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ผู้รับผิดชอบโครงการงานนิติการ สำนักปลัดเทศบาลตำบลเมืองพาน

งบประมาณ
เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2552 สำนักปลัดเทศบาล(ปรากฏตามแผนงานบริหารงานทั่วไป) จำนวน 5,000 บาท ดังนี้
1. วัสดุและเอกสารประกอบการฝึกอบรม เป็นเงิน 1,500 บาท
2. อาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นเงิน 500 บาท
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ รวม 5,000 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพานได้รับความรู้ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพานได้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการประชาธิปไตยทั้งในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระดับชาติ
3. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
4. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับเทศบาลตำบลเมืองพาน

----------------------------

โครงการแล้วเสร็จ 100 %

+ เทศบัญญัติ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทกลุ่มบริการบันเทิง

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่








+ หน้าที่รับผิดชอบฯ



บทบาทหน้าที่ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
 
หน้าที่และความรับผิดชอบ
          ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมาย ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานกฎหมาย โดยควบคุม ตรวจสอบ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนพอสมควร หรือปฏิบัติงานกฎหมายที่ยากมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
          ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับกฎหมาย โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเช่น ร่างเทศบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมเทศบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายเทศบัญญัติ นิติกรรม สัญญาต่าง ๆ ของเทศบาล ตอบข้อหารือทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ศึกษาพิจารณาให้ความเห็นทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงในการร่างเทศบัญญัติ สอบสวนพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับวินัยพนักงานเทศบาลและการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ การดำเนินการทางคดี เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
          ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงาน เช่น ติดต่อประสานงานวางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย


-----------------

+ เทศบัญญัติ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย



          เทศบัญญัติเรื่องนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขตามที่ สนง.ราชกิจจานุเบกษา แนะนำ ซึ่งจะนำเข้าสภาเทศบาลในเดือน มิถุนายน 2553 นี้




+ โครงการคลินิกกฏหมาย 2552








โครงการคลินิกกฎหมาย เทศบาลตำบลเมืองพาน ประจำปี 2552


หลักการและเหตุผล
..........ด้วยกฎหมายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เพราะการใช้ชีวิตในประจำวันของประชาชนย่อมต้องดำเนินอยู่ในกรอบแห่งกฎหมาย ที่เป็นบรรทัดฐานอันเดียวกัน เรื่องของบทบัญญัติของกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและติดตามการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากกฎหมายก็ย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่ปัจจุบัน มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องด้วยภารกิจต่าง ๆ ทำให้ไม่มีโอกาสในการศึกษาหาความรู้ความที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เมื่อเกิดกรณีปัญหาขึ้น ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหา หรือเข้าใจประเด็นปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และปล่อยเวลาล่วงเลยไปเนิ่นนานจนปัญหาเรื้อรังแก้ไขได้ยาก จนต้องพึ่งพาการให้บริการด้านกฎหมายกับเอกชนซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ถ้าหากได้รับการแก้ไขปัญหาหรือรับทราบข้อมูลในการปฏิบัติที่ถูกต้องก่อน ปัญหาก็จะไม่เรื้อรังกลายเป็นเรื่องใหญ่
ดังนั้น จึงได้เกิดแนวความคิดจัดทำโครงการคลินิกกฎหมาย เทศบาลตำบลเมืองพานขึ้น เพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมายในเบื้องต้น ให้แก่ประชาชนที่ประสบปัญหาด้านกฎหมาย หรือต้องการความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมายต่าง ๆ เพื่อไปเป็นแนวทางหรือ นำไปใช้ในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ต่อไป ตลอดจนเป็นหน่วยการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุประสงค์
..........1. เพื่อให้ประชาชนได้รับคำปรึกษาด้านกฎหมายในเบื้องต้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
..........2. เพื่อให้ได้รับทราบปัญหาด้านกฎหมายต่าง ๆ ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพาน รวบรวมเป็นข้อมูลในการดำเนินการให้ความรู้หรือความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ต่อไป
..........3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของงานด้านกฎหมาย กับ ภาคประชาชน ให้มีมากขึ้น
..........4. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านกฎหมายให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจ

เป้าหมาย
..........ดำเนินการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพาน โดยร่วมกับงานพัฒนาชุมชนในการออกให้คำปรึกษาตามโครงการต่าง ๆ ที่มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และให้คำปรึกษาประจำอยู่ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลเมืองพาน

ระยะเวลาดำเนินการ
..........ตลอดปีงบประมาณ 2552

วิธีดำเนินการ
..........1. เสนอโครงการ
..........2. ตั้งคณะทำงาน และคณะที่ปรึกษาโครงการ
..........3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
..........4. ดำเนินการตามโครงการ

สถานที่ดำเนินการ
..........ในเขตเทศบาลตำบลเมืองพาน

ผู้รับผิดชอบโครงการ
..........งานนิติการ สำนักปลัดเทศบาลตำบลเมืองพาน

งบประมาณ -

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
..........1. ประชาชนได้รับคำปรึกษาด้านกฎหมายในเบื้องต้นและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
..........2. ได้รับทราบปัญหาด้านกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ของประชาชน และนำมาพิจารณาหาแนวทางให้ความรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในลำดับต่อไป
..........3. งานด้านกฎหมายได้มีส่วนร่วม และใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น

----------------------------




+ เกี่ยวกับเรา

ทำความรู้จักงานนิติการ

          งานนิติการ ของเทศบาลตำบลเมืองพาน เป็นงานที่จัดให้อยู่ในฝ่ายอำนวยการ ของสำนักปลัดเทศบาลโดยมีผู้บังคับบัญชาชั้นต้นคือ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ และ หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล
          สายนิติการงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับ การพิจารณา วินิจฉัยปัญหากฎหมาย ร่าง และพิจารณาตรวจร่างเทศบัญญัติ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง จัดทำนิติกรรม รวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางคดีการสอบสวน ตรวจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับวินัยพนักงานเทศบาลและการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะที่จำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ความชำนาญในวิชาการทางกฎหมาย
9
นายกมลพันธ์ พัวพันพัฒนา
ปลัดเทศบาลตำบลเมืองพาน
รักษาราชการแทน หัวหน้าสำนักปลัด


น.ส.กัญญา แสนใจ
หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ 


นายนิติธรรม อภิวงค์
นิติกร

--------

หนังสือกรมฯ