17 พฤศจิกายน 2552

+ การจดทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรส


การจดทะเบียนสมรส (เสียงบรรยายประกอบ)

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส


- จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง


- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา

- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้

- หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

* สมรสกับคู่สมรสเดิม

* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้

* ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส


- บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

- สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ

- หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)

- สำเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส


- การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ คู่สมรส

- คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

- คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม

- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล

จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

ค่าธรรมเนียม


การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ - ส่ง นายทะเบียน การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

การจดทะเบียนสมรส

1.รับเรื่อง


- ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียน โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้ * กฏกระทรวงฯ พ.ศ. 2478 ข้อ 3 *ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 6,8

2. ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง


2.1 นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการอกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน

2.3 หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย

2.4 ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (กรณีผุ้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมมาด้วยตนเอง

2.5 ผู้ร้องขอเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากหย่าแล้วต้องตรวจ สอบหลักฐานการหย่า หรือคู่สมรสตาย ให้ตรวจสอบหลักฐานการตาย
2.6 คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน (กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล)

2.7 พยานอย่างน้อย 2 คน

* ป.พ.พ. ม.1436,1448,1453,1454,1455,1456

* พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ม.4, 11,12

* ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 8,13 (1)

3. นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย ดังนี้


3.1 ชายหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

3.2 ชายหญิงไม่เป็นคนวิกลจริตฯ

3.3 ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิต

3.4 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

3.5 ชายหรือหญิงจะสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสกันไม่ได้

3.6 หญิงหม้าย (ที่เข้าเงื่อนไข)

3.7 ชายหญิงยินยอมป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผย

* ป.พ.พ. ม.1448 - 1458 ดังนี้

* ระเบียน มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 13 (2)

4.ผู้มีอำนาจในการจะทะเบียน


- นายทะเบียน (นายอำเภอ/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ/อำนวยการเขต/หรือผู้รักษาราชการแทน)

* พ.ร.บ.จดทะเบียนครองครัว พ.ศ.2478 ม.3

* กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2499) ข้อ 2

* นส.ด่วนมากที่ มท.ช 0402/ว 1411 ลว.3 ธ.ค.30

5.ลงรายการในทะเบียนด้วยวิธีการ ดังนี้


5.1 พิมพ์ข้อความ ลงในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) หากผู้ร้องทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้บันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่นให้นายทเบียนพิมพ์รายละเอียดนั้นไว้ในช่องบันทึก

5.2 เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันที่ก่อนการสั่งพิมพ์ กรณีไม่มีการแก้ไขและ ได้สั่งพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีกจะเป็นการป้องกันการแก้ไขหรือลบข้อมูลโดยมิชอบ

5.3 เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้สั่งพิมพ์ทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)เพื่อให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) และพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส (คร.2) และนายทะเบียนลงลายมือชื่อในใบสำคัญการสมรส (คร.3)

5.4 มอบใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้แก่คู่สมรสฝ่ายละหนึ่งฉบับ
* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13 (3)

6.เมื่อได้รับจดทะเบียนหรือบันทึกไว้แล้ว ให้นายทะเบียนเก็บรักษา


ทะเบียนไว้เป็นหลักฐานตลอดไป โดยการจัดเก็บเข้าแฟ้มเรียงลำดับตามเลขที่ทะเบียนโดยมิให้ทำลาย เพราะ เป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมาย ซึ่งใช้รับรองสิทธิต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง

* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 43,44

7. การขอแก้ไขเพิ่มเติมในทะเบียน (คร.2) ให้นายทะเบียนบันทึกใน


ช่องบันทึกทะเบียน โดยมีรายละเอียดให้ทราบว่าใครเป็นผู้ร้องขอให้บันทึกเรื่องใด และให้ผู้ร้องและนายทะเบียน ลงชื่อไว้โดยไม่ต้องแก้ไขรายการในทะเบียนเดิมให้ถือปฏิบัติตามระบบเดิม คือการบันทึกข้อความต่าง ๆ โดยการเขียน ด้วยมือในคำร้อง (คร.1) และทะเบียนสมรส (คร.2) แต่ต้องนำมาจัดเก็บข้อมูลการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวไว้ด้วยระบบ คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนี่งในภายหลัง

* กฎกระทรวง พ.ศ.2478 ข้อ 9 ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 38

8. การใช้นามสกุลของคู่สมรส


ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคู่สมรสให้ทางทะเบียนท้องที่บันทึกข้อตกลงของคู่สมรสว่าจะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดโดยให้บันทึกต่อท้าย
ในแบบ คร.2


ความสำคัญของทะเบียนสมรส (เสียงบรรยายประกอบ)


การจดทะเบียนสมรสที่บ้าน (เสียงบรรยายประกอบ)


จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะและผิดกฏหมาย (เสียงบรรยายประกอบ)

คนต่างชาติจะจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายไทย (เสียงบรรยายประกอบ)


การจดทะเบียนสมรสใหม่ของหญิงหม้าย (เสียงบรรยายประกอบ)


การตรวจสอบทะเบียนสมรส (เสียงบรรยายประกอบ)

หนังสือกรมฯ