12 มิถุนายน 2553

+ เตรีียมตัวไปอำเภอ





 1.การแจ้งย้ายออก
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ


     เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่อยู่ในบ้านย้ายออก

หลักฐาน

สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง






 2.การแจ้งย้ายปลายทาง

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ


     การแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง หมายความว่า การแจ้งการย้ายที่อยู่โดยผู้ขอแจ้งย้าย สามารถไปขอแจ้งย้ายออกและขอแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปขอแจ้งย้ายออก ณ สำนักทะเบียนเดิมที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจากทะเบียนบ้าน


หลักฐาน


สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนาบัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่ หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปดำเนินการแจ้งย้ายได้) หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรฯ พร้อมด้วยสำเนาบัตรฯ ที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ



     (กรณีผู้แจ้งย้ายที่อยู่มอบผู้อื่นมาดำเนินการแทน ผู้รับมอบหมาย 1 คน ควรดำเนินการแทนผู้ประสงค์จะแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางได้ ไม่เกิน 3 คน และทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)


 3.การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

     ผู้ย้ายที่อยู่สามารถติดต่อขอแจ้งย้ายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นอาศัยอยู่ใหม่ได้ โดยไม่ต้องกลับไปภูมิลำเนาเดิมที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ถ้าเป็นการย้ายที่อยู่ระหว่างสำนักทะเบียน ON-LINE 1,082 แห่ง ที่จัดทำทะเบียนบ้านแบบสมุดพก ได้แก่ สำนักทะเบียนในจังหวัด กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นครปฐม พิษณุโลก เชียงใหม่ นครราชสีมา อุดรธานี สุราษฎร์ธานี สงขลา อำเภอเมืองปทุมธานี และสำนักทะเบียนในจังหวัดอื่นๆ อีก 67 จังหวัด จะสามารถแจ้งย้ายผ่านระบบคอมพิวเตอร์เสร็จภายในเวลา 15 นาที
เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท


 4.การทำบัตรประจำตัวประชาชน

คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องทำบัตร


     ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542


     ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวนั้นแทนบัตรประจำตัวประชาชน แต่หากประสงค์จะขอมีบัตร (รวมทั้งผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็บสิบปี) ก็สามารถทำได้และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด


 5.การแจ้งเกิด

หลักเกณฑ์


     เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งชื่อคนเกิดให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้ง การเกิด


คนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน ภายในสิบหาวันนับแต่วันเกิด 


เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 
หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)


 6.การแจ้งตาย

หลักเกณฑ์
     เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตาย
(1) คนตายในบ้าน
     ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
(2) คนตายนอกบ้าน
     ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่มีการตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ กรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
กำหนดเวลาให้แจ้งตาย (1) และ (2) ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ
หากไม่ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท



เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี) หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง


 7.การแจ้งย้ายเข้า

หลักเกณฑ์


     เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท


เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน 
หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช้เจ้าบ้าน) 
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน 
ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว


 8.การจดทะเบียนสมรส

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ 
สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ 
หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมายพร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส) 
สำเนาทะเบียนบ้าน


 9.การจดทะเบียนหย่า
เอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่า คือ
บัตรประจำตัวประชาชน

ใบสำคัญการสมรส 
หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า


 10.การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง
     ตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 บุคคลสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลและจะมีชื่อรองด้วยก็ได้
     ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
     ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
     ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล



เอกสารประกอบการดำเนินการ
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-บัตรประจำตัวประชาชน
-ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)


 11.การขอจดทะเบียนชื่อสกุล
เอกสารประกอบการดำเนินการ
สำเนาทะเบียนบ้าน 
บัตรประจำตัวประชาชน 
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)


 12.การขอร่วมใช้ชื่อสกุล
เอกสารประกอบการดำเนินการ


ขั้นตอนที่ 1 (สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล)
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-บัตรประจำตัวประชาชน
-หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2)
 


ขั้นตอนที่ 2 (สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล)
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-บัตรประจำตัวประชาชน
-หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล


 13.การจดทะเบียนรับรองบุตร
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร 
หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร


 14.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
บัตรประจำตัวประชาชน 
หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรณีบุตรบุญธรรมเป็น ผู้เยาว์)


 15.พินัยกรรม
พินัยกรรม มี 5 แบบ คือ
-พินัยกรรมแบบธรรมดา
-พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
-พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
-พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
-พินัยกรรมทำด้วยวาจา


 16.การขอจดทะเบียนสมาคม (ไม่รวมสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์)
     ให้ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาล 2 สำนักงานตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำหรับในกรุงเทพมหานคร หรือที่ว่าการอำเภอ/ที่ว่าการกิ่งอำเภอ สำหรับในจังหวัด พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด

-ข้อบังคับของสมาคม
-รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นสมาชิก ไม่น้อยกว่า 10 คน
-รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของสมาคม
-รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
-แผนผัง ที่ตั้งสังเขปของสมาคม ทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
-หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม
-สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายสำเนา-ทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิกและผู้จะเป็นกรรมการสมาคม
-เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)



อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสมาคม
-ค่าจดทะเบียนสมาคม 2,000 บาท
-ค่าจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมหรือค่าจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมบางส่วน ครั้งละ 200 บาท
-ค่าขอตรวจเอกสาร ครั้งละ 50 บาท
-ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองถูกต้อง ฉบับละ 10 บาท แต่ไม่เกิน 500 บาท
-ค่าคำขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสมาคม ครั้งละ 5 บาท


 17.ทะเบียนศาลเจ้า
ทะเบียนศาลเจ้า
     ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐ หรือที่ดินซึ่งเอกชนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของศาลเจ้า ศาลเจ้านั้นจะอยู่ในการกำกับดูแล โดยราชการ และมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้า และผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากราชการเป็นผู้บริหารกิจการศาลเจ้า



หลักเกณฑ์
     การอุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า เมื่อมีผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตน ซึ่งมีศาลเจ้า ตั้งอยู่แล้ว หรือที่ดินแห่งอื่นให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
     ผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตนให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้าให้ยื่นเรื่องราวแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ นายอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการเขต ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
-คำร้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้อุทิศที่ดิน
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-บัตรประจำตัวประชาชน
-รายละเอียดที่ดินซึ่งจะอุทิศให้พร้อมโฉนดที่ดิน หรือหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
-จังหวัด อำเภอ สำนักงานเขต ปฏิบัติดังนี้
-รับเรื่องราวของผู้ประสงค์อุทิศที่ดิน
-ตรวจสอบความถูกต้องและเอกสารทั้งหมด
-สอบสวนผู้ประสงค์อุทิศที่ดินตามแบบ ปค.14 เกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะอุทิศให้และเจตนารมย์ของผู้อุทิศให้
-เมื่อเห็นว่าถูกต้องรวบรวมหลักฐานและเอกสารทั้งหมด พร้อมทั้งเสนอความเห็นไปจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุมัติและรับมอบที่ดิน


 18.ทะเบียนการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
หลักฐานประกอบการขออนุญาต
-บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมใบประกอบธุรกิจและสำเนา
-ทะเบียนบ้านและสำเนา
-รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
-ทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและสำเนา
-หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ทำการค้า หรือหลักฐานการเป็นเจ้าของหรือสัญญาเช่า
-ใบอนุญาตจากกรมศิลปากรและสำเนา กรณีประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าประเภทโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
-ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน


เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นเรื่อง
-ภาพถ่าย บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
-สำเนา หรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
-หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิ์ครอบครองที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งสุสานฯ
-แผนที่แสดงเขตที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งสุสาน รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง
-แผนผังแสดงการใช้ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้กิจการของสุสานฯ
     * สำหรับนิติบุคคลต้องยื่นเอกสารประกอบด้วย ดังนี้
-หลักฐานแสดงการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
-หลักฐานแสดงว่า ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลผู้ขอรับใบอนุญาต

ขอบคุณข้อมูลจาก อำเภอ.คอม 
http://www.amphoe.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือกรมฯ